บทเพลงสวดแห่งคริสตจักรซีเรีย (Syrian Church Music)
บทเพลงสวดในคริสตจักรโบราณหลายต่อหลายแห่ง ทั้งในซีเรียตะวันออกและตะวันตก เมโสโปเตเมีย และอินเดียตอนใต้ ล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากสังฆมณฑลแห่ง “แอนตีอ๊อก” (patriarchate of Antioch) และจากบรรดาพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง บทคัดย่อบทนี้จะสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับบทเพลงสวดในคริสตจักรดังกล่าวทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการรวมเข้ากับศาสนจักรโรมันคาทอลิคในปัจจุบันแล้วหรือไม่ เพราะต่างมีพื้นฐานทางการสืบทอดประเพณีการดนตรีเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดก็ตามที
1. ประวัติความเป็นมา
คริสตจักรซีเรีย หรือ คริสตจักรแอนติอ๊อก เป็นนิกายหนึ่งในคริสตจักรตะวันออกโบราณนอกกรีก (ancient non-Greek Christian Churches of the East) ที่มีความเก่าแก่และสืบทอดวิถีแห่งจารีตประเพณีของบรรดาสาวกขององค์พระคริสต์ได้อย่างต่อเนื่องและยิ่งใหญ่กว่านิกายอื่นใด ในศตวรรษที่ 5 คริสตจักรตะวันออกโบราณนอกกรีกได้แยกตัวออกมาจากคริสตจักรกรีกและลาติน และเปลี่ยนคำเรียกขานเป็น คริสตจักรตะวันออก หรือ คริสตจักรอัสซีเรียน ซึ่งได้แผ่ขยายฐานออกไปสู่ เตอร์กิสถาน อินเดีย ธิเบต และเข้าสู่ประเทศจีนในช่วงต้นยุคกลาง (Middle Ages) และในภายหลัง ได้ถูกจำกัดสถานะอยู่แต่ในตะวันออกกลางโดยชาวอิสลามและมองโกล หลังจากสิ้นยุคกลาง คริสตจักรในกลุ่มตะวันออกได้เข้าร่วมกับศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยยังคงขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของพวกตนไว้ รวมถึงบทเพลงสวด ซึ่งได้รับการขนานชื่อต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาของอิทธิพลดั้งเดิม
2. บทเพลงพิธีกรรมและพระคัมภีร์
เนื้อเรื่องประกอบด้วยเค้าโครงหลักและรายละเอียดว่าด้วย
2.1. พิธีกรรมหลักในคริสตจักรซีเรีย
2.2. พิธีกรรมในนิกายซีเรียออโทด็อกซ์
2.3. พิธีกรรมในนิกายอัสซีเรีย และ
2.4. พิธียูคาริสต์ (รำลึกถึงวันสวรรคตขององค์พระคริสต์)
3. ระบบทำนองเพลง
ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับระบบต่างๆ ที่ใช้ในบทเพลงประจำของ
3.1. คริสตจักรซีเรียออโทด็อกซ์
3.2. คริสตจักรอัสซีเรีย และ
3.3. คริสตจักรมาโรไนต์ ร่วมนิกายในเลบานอน
4. รูปแบบและลักษณะดนตรี
แบ่งออกเป็น บทร้องปากเปล่า (Liturgical Recitatives) บทร้องคละบทพูด (Antiphonal psalmody) บทโปลีโฟนี (polyphony) บทร้องสอดแทรก (Interpolated hymns) บทร้องอิสระ (Independant Hymns) และ บทเทศนา (Mimra)
5. การใช้เครื่องหมายทางการดนตรี
ว่าด้วยการค้นพบการใช้เครื่องหมายแทนขนาดของช่องว่างในท่วงทำนองเพลง ในเอกสารเก่าแก่ของชาวซีเรีย
คัดย่อโดย นางสาวฝนพา สาทิสสะรัต