ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) เป็นรูปแบบดนตรีที่ถือกำเนิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 17 และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะเฉพาะของดนตรีรูปแบบนี้มักจะใช้เสียงต่ำ และบ่อยครั้งจะอิงกับ bass-ostinato และเขียนในรูป triple metre
ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) เป็นคำที่มาจากภาษาสเปน (pasar เดิน / calle ถนน) และใช้เสมือนมโหระทึกในการสลับฉากระหว่างการแสดงระบำประกอบดนตรีหรือการร้องเพลง ถึงแม้ว่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน แต่การค้นพบเอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นในปี 1606 กลับเป็นในอิตาลี เอกสารเหล่านี้เป็นการลำดับคอร์ดสั้นๆ และเน้น cadential formula เป็นหลัก
ในปลายทศวรรษที่ 1620 จีโรลาโม เฟรสโกบัลดี (Girolamo Frescobaldi) นักแต่งเพลงชาวอิตาเลี่ยนได้เปลี่ยนรูปแบบดนตรีให้เป็นชุดตัวโน๊ตที่มีความหลากหลายขึ้นโดยใช้เสียงเบสเป็นพื้น ซึ่งอาจมีความหลากหลายได้เช่นกัน นักแต่งเพลงรุ่นต่อมาได้นำวิธีการนี้ไปใช้ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 ความหมายของ ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) ได้เปลี่ยนไปเป็นชุดตัวโน๊ตที่มีความหลากหลายโดยใช้ ostinato เป็นพื้นสำคัญ ตัวอย่างรูปแบบดนตรีดังกล่าวในเพลงคลาสสิกตะวันตกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่ Passacaglia and Fugue in C minor, BWV 582 สำหรับออร์แกน ของ โจฮัน เซบาสเตียง บ๊าค (Johann Sebastian Bach)
รูปแบบดนตรีที่มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างสูงกับ ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) คือ ชา-ก็อน (chaconne) แต่เนื่องจากนักแต่งเพลงแต่ละคนมักจะขาดความรอบคอบในการพิจารณาในรายละเอียด จึงมีความพยายามที่จะจำแนกความแตกต่างระหว่างรูปแบบดนตรี 2 รูปแบบนี้ เพียงแต่ว่า ผลสรุปมักจะตรงกันข้ามเสมอ เช่น เปอร์ซี เกิร์ตชีอุส (Percy Goetschius) สรุปว่า chaconne มักจะอิงความผสานของดนตรีที่มีเสียง โซปราโน แทรก ในขณะที่ passacaglia จะใช้เสียงเบสเป็นพื้น แต่ คลาเร็นส์ ลูกัส (Clarence Lucas) กลับมีผลสรุปที่สลับกันโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ได้มีการเน้นความต่างโดยนักแต่งเพลงบางคนในศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะ เฟรสโกบัลดี (Frescobaldi) และ ฟรังซัว กูเปอแร็ง (François Couperin) ซึ่งนำรูปแบบดนตรีทั้ง 2 ชนิดเข้ามาเรียบเรียงไว้ในบทเพลงเดียวกัน
ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Passacaglia
ฝนพา สาทิสสะรัต 5204564
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Zarlino Gioseffo
Gioseffo Zarlino (จีโอแซฟโฟ ซาร์ลีโน) เป็นนักทฤษฎีและนักแต่งเพลงชาวอิตาเลี่ยนที่ได้รับการศึกษาจากนักบวชคณะฟรานซิสกัน (Franciscans) และออกบวชในเวลาต่อมา ซาร์ลีโนเริ่มร้องเพลงในวิหาร คีอ๊อกเจีย (Chioggia Cathedral) ในปี 1536 และเป็นผู้เล่นออร์แกนในปี 1539-1540 ก่อนจะย้ายไปเรียนวิชาดนตรีที่เมืองเวนิสกับ อาเดรียน วิลลาร์ต (Adrian Willaert) ในปี 1541 หลังจากนั้น ในปี 1565 ซาร์ลีโนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านักสวด (maestro di cappella) ในมหาวิหารซานมาร์โก (San Marco Basilica) และดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนมรณภาพ ซาร์ลีโนตีพิมพ์หนังสือในปี 1558 ชื่อ Le institutioni harmoniche ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์แห่งทฤษฎีการดนตรี หนังสือดังกล่าวว่าด้วยการนำทฤษฎีต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในสมัยโบราณมาประยุกต์เข้ากับการแต่งเพลงในสมัยใหม่ ในหนังสือ Dimostrationi harmoniche ตีพิมพ์ในปี 1571 ซาร์ลีโนได้เปลี่ยนโน๊ตในบทเพลงสวดให้เริ่มจาก C แทนที่จะเริ่มจาก A เหมือนที่เคยใช้มาก่อนหน้านั้น ทำให้พัฒนาการในระดับเสียงกว้างไกลขึ้นนับแต่นั้นมา ซาร์ลีโนแต่งเพลงประสานเสียงประเภท motet กว่า 40 เพลง และ madigral มากกว่า 12 เพลง ซาร์ลีโนยังแต่งเพลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองไว้ด้วย เช่น the brilliant naval victory of Lepantoในปี 1571
ซาร์ลีโน เป็นผู้ให้อรรถาธิบายให้ความนับถืออาจารย์ วิลลาร์ต อย่างสูง และยกย่องวิลลาร์ตว่าเป็นผู้ทำให้โลกดนตรีมีความน่าอภิรมย์เหมือนที่เคยเป็นในอดีตกาล ถึงแม้ว่า ซาร์ลีโนจะได้รับการยอมรับว่าเป็นนักแต่งเพลงที่มีพรสวรรค์ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ซาร์ลีโนโดดเด่นขึ้นมาคือทฤษฎีที่เขาเรียบเรียงขึ้นมา ได้แก่ Le institutioni harmoniche ในปี1558 Dimostrationi harmoniche ในปี 1571 และ Sopplimenti musicali ในปี 1588
คัดย่อจาก www.answers.com/topic/gioseffo-zarlino
ฝนพา สาทิสสะรัต 5204564
ซาร์ลีโน เป็นผู้ให้อรรถาธิบายให้ความนับถืออาจารย์ วิลลาร์ต อย่างสูง และยกย่องวิลลาร์ตว่าเป็นผู้ทำให้โลกดนตรีมีความน่าอภิรมย์เหมือนที่เคยเป็นในอดีตกาล ถึงแม้ว่า ซาร์ลีโนจะได้รับการยอมรับว่าเป็นนักแต่งเพลงที่มีพรสวรรค์ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ซาร์ลีโนโดดเด่นขึ้นมาคือทฤษฎีที่เขาเรียบเรียงขึ้นมา ได้แก่ Le institutioni harmoniche ในปี1558 Dimostrationi harmoniche ในปี 1571 และ Sopplimenti musicali ในปี 1588
คัดย่อจาก www.answers.com/topic/gioseffo-zarlino
ฝนพา สาทิสสะรัต 5204564
วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Alessandro Scarlatti (1660-1725)
Alessandro Scarlatti เป็นนักประพันธ์เพลงชาวอิตาลีในยุคบาโรค (Baroque) เกิดเมื่อปี ค.ศ.1660 และเสียชีวิตในปี ค.ศ.1725 ตามประวัติเล่าว่า เขาเป็นลูกศิษย์ของ Giacomo Carissimi เมื่อครั้งอยู่ที่กรุงโรม กล่าวได้ว่าตระกูล Scarlatti นี้ เป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีโดยแท้ เพราะลูกชายของเขาทั้ง 2คน ก็เป็นนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงเช่นกัน คือ Dominico Scarlatti และ Pietro Filippo Scarlatti
Alessandro Scarlatti เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งชื่อ Neapolitan School of Opera เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากในการประพันธ์เพลงประเภท opera และ Chamber Cantatas ผลงาน opera ในช่วงยุคแรกๆของเขา อาธิเช่น Gli equivoci nel sembiante (1679), L’honestà negli amori (1680) Aria ที่มีชื่อเสียง Già il sole dal Gange และ Il Pompeo 1683 ที่มี airs "O cessate di piagarmi" และ "Toglietemi la vita ancor" ผลงานส่วนใหญ่ขิงเขามักจะยังคงรักษาลักษณะ Cadences ในแบบดั่งเดิมเอาไว้ในท่อน Recitative ส่วนผลงานด้าน Opera ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และดีที่สุดของเขาก็คือ ผลงานที่มีชื่อว่า La Rosaura บทเพลงของ Alessandro Scarlatti มีความสำคัญมากในยุค Baroque และพัฒนามาเรื่อยๆจนถึงขีดสุดในช่วงยุคต้น Classical เขาถือเป็นผู้ที่ทำให้วงการเพลงร้องหรือ opera ในยุคนั้นเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ผู้คนยอมรับมากขึ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับวงการ Opera ของโลกเลยก็ว่าได้ Scarlatti ได้แต่งเพลงให้เมืองต่างๆ อาธิ กรุงโรม Venice ฯลฯ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในราชสำนัก จนทำให้เพลงของเขากลายเป็นแบบแผนมาตรฐานของเพลง opera เลยทีเดียว
ฝนพา สาทิสสะรัต (5204564)
Alessandro Scarlatti เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งชื่อ Neapolitan School of Opera เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากในการประพันธ์เพลงประเภท opera และ Chamber Cantatas ผลงาน opera ในช่วงยุคแรกๆของเขา อาธิเช่น Gli equivoci nel sembiante (1679), L’honestà negli amori (1680) Aria ที่มีชื่อเสียง Già il sole dal Gange และ Il Pompeo 1683 ที่มี airs "O cessate di piagarmi" และ "Toglietemi la vita ancor" ผลงานส่วนใหญ่ขิงเขามักจะยังคงรักษาลักษณะ Cadences ในแบบดั่งเดิมเอาไว้ในท่อน Recitative ส่วนผลงานด้าน Opera ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และดีที่สุดของเขาก็คือ ผลงานที่มีชื่อว่า La Rosaura บทเพลงของ Alessandro Scarlatti มีความสำคัญมากในยุค Baroque และพัฒนามาเรื่อยๆจนถึงขีดสุดในช่วงยุคต้น Classical เขาถือเป็นผู้ที่ทำให้วงการเพลงร้องหรือ opera ในยุคนั้นเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ผู้คนยอมรับมากขึ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับวงการ Opera ของโลกเลยก็ว่าได้ Scarlatti ได้แต่งเพลงให้เมืองต่างๆ อาธิ กรุงโรม Venice ฯลฯ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในราชสำนัก จนทำให้เพลงของเขากลายเป็นแบบแผนมาตรฐานของเพลง opera เลยทีเดียว
ฝนพา สาทิสสะรัต (5204564)
A Mighty Fortness Is Our God - Ein'Feste Burg Ist Unser Gott
A Mighty Fortress Is our God - Ein’feste Burg ist unser Gott
“A Mighty Fortress” เป็นหนึ่งในเพลงสรรเสริญที่นิยมมากที่สุดในนิกาย ลูเธอแร็น และ โปรเตสแต็นท์ ถือเป็นเพลงแห่งการต่อสู้ในการปฏิรูปศาสนจักร (Battle Hymn of the Reformation) เพราะทำให้ผู้สนับสนุนการปฏิรูปฯ เพิ่มขึ้น จอห์น จูเลียน (John Julian) ได้อ้างอิงที่มาของเพลงไว้ 4 สถาน
• ไฮน์ริก ไฮน์เนอ (Heinrich Heine) : ลูเธอร์ ร้องเพลงนี้กับผู้ติดตามตอนเข้าเมือง เวิร์มส์ (Worms) เมื่อ 16 เมษายน 1521 เพื่ออดอาหาร
• เค.เอฟ.ที. ชไนเดอร์ (K.F.T. Schneider) : เป็นเพลงอุทิศแด่ เลอ็อนฮาร์ด ไกเซอร์ (Leonhard Kaiser) เพื่อนของลูเธอร์ ซึ่งถูกประหารเมื่อ 16 สิงหาคม 1527
• ช็อง อ็องรี แมร์ล โดบีนเย (Jean-Henri Merle d'Aubigne) : เจ้าหญิงเยอรมันทรงร้องเพลงนี้ขณะเข้าเมือง อ๊อกซ์เบิร์ก (Augsburg) เพื่ออดอาหารในปี 1530 และประกาศ ศรัทธาแห่งอ็อกซ์เบิร์ก (Augsburg Confession)
• เจตนารมย์ในการแต่งเพลงนี้เกี่ยวกับการอดอาหารที่ สเปเยอร์ (Diet of Speyer 1529) ที่เจ้าหญิงเยอรมันผู้เป็น ลูเธอแร็น ทรงประท้วงจักรพรรดิ ชาร์ลส์ที่ 5 (Emperor Charles V) ที่ต้องการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาแห่งเวิร์มส์ (Edict of Worms) ในปี 1521
เท่าที่ทราบ เพลงนี้มีอยู่ในหนังสือเพลงของ แอนดรู เราส์เชอร์(Andrew Rauscher 1531) แต่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเพลงของ โจแซฟ คลั๊ก วิตเต็นแบร์ก (Joseph Klug's Wittenberg hymnal) ในปี 1529 ชื่อ เดอุส นอสแตร์ เรฟูกิอุม แอต เวียร์ตุส (Deus noster refugium et virtus) ซึ่งไม่มีเหลือแล้ว และฉบับของ ฮันส์ ไวส์ วิตเต็นแบร์ก (Hans Weiss Wittenberg hymnal) ในปี 1528 ก็ได้หายไปเช่นกัน
หลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ว่า เพลงนี้แต่งขึ้นระหว่างปี 1527-1529 เพราะเพลงของลูเธอร์จะถูกตีพิมพ์หลังจากแต่งเสร็จไม่นาน
ว่ากันว่า กษัตริย์ กุสตาวุส อะดอลฟุส (King Gustavus Adolphus) แห่งสวีเดนทรงใช้เพลงนี้ในสงคราม 30 ปี (Thirty Years' War) เพลงดังกล่าวถูกแปลเป็นภาษาสวีเดนตั้งแต่ปี 1536 โดยผู้แปลน่าจะเป็น โอเลาอุส เปตรี (Olaus Petri) และยังใช้เป็นเพลงชาติของขบวนการสังคมนิยมสวีเดน (Swedish socialist movement) ในยุคต้น ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 1800 ด้วย
ในภาษาอังกฤษ ไมล์ส คาเวอร์เดล (Myles Coverdale) เป็นผู้แปลคนแรกในปี 1539 โดยใช้ชื่อว่า “Oure God is a defence and towre” ส่วนการแปลครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษพื้นฐาน ใช้ชื่อว่า “God is our Refuge in Distress, Our strong Defence” ซึ่งอยู่ในหนังสือเพลงสวด J.C. Jacobi's Psal. Ger., 1722, หน้า 83
ปัจจุบัน เพลงนี้ใช้ในพิธีมิซซาของนิกายคาธอลิก ซึ่งอยู่ในหนังสือคาธอลิกสำหรับพิธีบูชา (Catholic Book of Worship) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2โดย คณะประชุมสังฆราชคาธอลิคคานาดา (Canadian Conference of Catholic Bishops)
ความนิยมยาวนานของเพลงนี้ในโลกชาวคริสต์ตะวันตก (Western Christendom) ได้ทำลายสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นในยุคปฏิรูปฯ (Reformation) ให้หมดไป
“A Mighty Fortress” เป็นหนึ่งในเพลงสรรเสริญที่นิยมมากที่สุดในนิกาย ลูเธอแร็น และ โปรเตสแต็นท์ ถือเป็นเพลงแห่งการต่อสู้ในการปฏิรูปศาสนจักร (Battle Hymn of the Reformation) เพราะทำให้ผู้สนับสนุนการปฏิรูปฯ เพิ่มขึ้น จอห์น จูเลียน (John Julian) ได้อ้างอิงที่มาของเพลงไว้ 4 สถาน
• ไฮน์ริก ไฮน์เนอ (Heinrich Heine) : ลูเธอร์ ร้องเพลงนี้กับผู้ติดตามตอนเข้าเมือง เวิร์มส์ (Worms) เมื่อ 16 เมษายน 1521 เพื่ออดอาหาร
• เค.เอฟ.ที. ชไนเดอร์ (K.F.T. Schneider) : เป็นเพลงอุทิศแด่ เลอ็อนฮาร์ด ไกเซอร์ (Leonhard Kaiser) เพื่อนของลูเธอร์ ซึ่งถูกประหารเมื่อ 16 สิงหาคม 1527
• ช็อง อ็องรี แมร์ล โดบีนเย (Jean-Henri Merle d'Aubigne) : เจ้าหญิงเยอรมันทรงร้องเพลงนี้ขณะเข้าเมือง อ๊อกซ์เบิร์ก (Augsburg) เพื่ออดอาหารในปี 1530 และประกาศ ศรัทธาแห่งอ็อกซ์เบิร์ก (Augsburg Confession)
• เจตนารมย์ในการแต่งเพลงนี้เกี่ยวกับการอดอาหารที่ สเปเยอร์ (Diet of Speyer 1529) ที่เจ้าหญิงเยอรมันผู้เป็น ลูเธอแร็น ทรงประท้วงจักรพรรดิ ชาร์ลส์ที่ 5 (Emperor Charles V) ที่ต้องการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาแห่งเวิร์มส์ (Edict of Worms) ในปี 1521
เท่าที่ทราบ เพลงนี้มีอยู่ในหนังสือเพลงของ แอนดรู เราส์เชอร์(Andrew Rauscher 1531) แต่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเพลงของ โจแซฟ คลั๊ก วิตเต็นแบร์ก (Joseph Klug's Wittenberg hymnal) ในปี 1529 ชื่อ เดอุส นอสแตร์ เรฟูกิอุม แอต เวียร์ตุส (Deus noster refugium et virtus) ซึ่งไม่มีเหลือแล้ว และฉบับของ ฮันส์ ไวส์ วิตเต็นแบร์ก (Hans Weiss Wittenberg hymnal) ในปี 1528 ก็ได้หายไปเช่นกัน
หลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ว่า เพลงนี้แต่งขึ้นระหว่างปี 1527-1529 เพราะเพลงของลูเธอร์จะถูกตีพิมพ์หลังจากแต่งเสร็จไม่นาน
ว่ากันว่า กษัตริย์ กุสตาวุส อะดอลฟุส (King Gustavus Adolphus) แห่งสวีเดนทรงใช้เพลงนี้ในสงคราม 30 ปี (Thirty Years' War) เพลงดังกล่าวถูกแปลเป็นภาษาสวีเดนตั้งแต่ปี 1536 โดยผู้แปลน่าจะเป็น โอเลาอุส เปตรี (Olaus Petri) และยังใช้เป็นเพลงชาติของขบวนการสังคมนิยมสวีเดน (Swedish socialist movement) ในยุคต้น ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 1800 ด้วย
ในภาษาอังกฤษ ไมล์ส คาเวอร์เดล (Myles Coverdale) เป็นผู้แปลคนแรกในปี 1539 โดยใช้ชื่อว่า “Oure God is a defence and towre” ส่วนการแปลครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษพื้นฐาน ใช้ชื่อว่า “God is our Refuge in Distress, Our strong Defence” ซึ่งอยู่ในหนังสือเพลงสวด J.C. Jacobi's Psal. Ger., 1722, หน้า 83
ปัจจุบัน เพลงนี้ใช้ในพิธีมิซซาของนิกายคาธอลิก ซึ่งอยู่ในหนังสือคาธอลิกสำหรับพิธีบูชา (Catholic Book of Worship) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2โดย คณะประชุมสังฆราชคาธอลิคคานาดา (Canadian Conference of Catholic Bishops)
ความนิยมยาวนานของเพลงนี้ในโลกชาวคริสต์ตะวันตก (Western Christendom) ได้ทำลายสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นในยุคปฏิรูปฯ (Reformation) ให้หมดไป
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Guido d'Arezzo (991/992-after1033)
Guido d'Arezzo เป็นนักบวช และนักทฤษฎีดนตรีในยุคกลาง (Medieval) เกิดเมื่อประมาณปี ค.ศ.991/992 และเสียชีวิตในราวๆหลังปี ค.ศ.1033 Guido เป็นนักบวชในคณะเบเนดิกต์จากเมืองอาเรสโซ (Arezzo) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัด Arezzo ในแคว้น Tuscany ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี จากการศึกษาค้นคว้าล่าสุดพบว่า Guido ได้เขียนงาน Micrologus ขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ.1025-1026 และจากบันทึกที่เขียนไว้ในจดหมายได้ระบุว่า ในขณะนั้นเขามีอายุได้ 34 ปี จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่า เขาเกิดในช่วงประมาณปี ค.ศ.991 หรือ ปี ค.ศ.992
แต่เดิม Guido เป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงค์ปอมโปซา (Pomposa) ซึ่งอยู่แถบชายฝั่งทะเลอะเดรติก (Adriatic) ใกล้เมืองเฟอรารา (Ferrara) ทางตอนเหนือของอิตาลี ในขณะที่อยู่ที่นั่น เขาก็ได้สังเกตเห็นถึงความยากลำบากของนักร้อง ในการที่จะจำเพลงร้องที่ใช้ในพิธีทางศาสนา (Chant) เขาจึงเริ่มคิดค้นวิธีการสอนที่ทำให้นักร้องสามารถจดจำโน้ตได้เร็ว และง่า่ยยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าวิธีที่เขาคิดขึ้นจะได้ผล และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วแถบตอนเหนือของอิตาลี แต่มันก็ทำให้คณะสงค์อื่นๆเกิดความไม่พอใจ เป็นเหตุให้ Guido ต้องรีบย้ายไปยังเมือง Arezzo ที่ซึ่งเขาได้รับเชิญจากพระสังฆาธิการ Tedald ให้ไปควบคุมวงที่ท่านฝึกสอนอยู่ เพราะถึงแม้ว่าเมืองนี้จะไม่มีโบสถ์อยู่เลยแม้แต่แห่งเดียว แต่ก็มีนักร้องประจำโบสถ์กลุ่มใหญ่อยู่ที่นั่น และที่เมือง Arezzo นี้เอง เขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โดเรมี แต่ละคำนำมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวี Hymn, Ut Queant Laxis ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากงานในสมัยแรกๆของเขา ตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่ Pomposa
Guido ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัด 5 เส้นสมัยใหม่ (Staff notation) ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตโดยตัวอักษรกรีกแต่เดิม (Neumatic notation) งานเขียนของเขาที่ชื่อ Micrologus มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาการประสานเสียงหลายเสียง (Polyphony) จังหวะที่เป็นอิสระที่ประสานเข้ากับท่วงทำนองที่เป็นอิสระ (Rhythmic and Melodic independence) และผนวกเสียงร้องหลายแนวตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไป ใส่ไว้ในเพลงเดิมๆที่เรียบง่าย นับเป็นทฤษฎีทางดนตรีชิ้นที่สองต่อจากงานเขียนของ Boethius (ค.ศ.480-524/525) นักปรัชญาชาวโรม ในศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในยุคกลางเลยทีเดียว นอกจากนี้ Guido ยังได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า เป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตแบบ Guidonian Hand ซึ่งเป็นเทคนิคช่วยจำโน้ตโดยการตั้งชื่อโน้ตให้สอดคล้อง สัมพันธ์กับส่วนต่างๆบนมือของมนุษย์ เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น
งานเขียน Micrologus ของเขาได้อุทิศให้กับพระสังฆาธิการ Tedald และต่อมาไม่นาน งานเขียนของเขาได้รับความสนใจจากพระสันตะปาปายอห์นที่ 19 ซึ่งได้เชิญเขาไปที่โรมในช่วงราวๆปี ค.ศ.1028 แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็กลับมาที่เมือง Arezzo อีกครั้งเพราะปัญหาด้านสุขภาพ และเรื่องราวของเขาก็หายเงียบไป แต่มาพบในตอนหลังว่างานเขียน Antiphoner ของเขา (การเปลี่ยนระดับเสียงร้องในเพลงสวด) ทีู่สูญหายไปในตอนแรก ได้ถูกเขียนต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1030
ในปัจจุบันชื่อของ Guido of Arezzo ได้ถูกนำไปตั้งชื่อเป็นโปรแกรม GUIDO Music Notation ซึ่งเป็นระบบที่นำเสนอการเขียนโน้ตเพลงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย
ฝนพา สาทิสสะรัต
แต่เดิม Guido เป็นนักบวชอยู่ที่สำนักสงค์ปอมโปซา (Pomposa) ซึ่งอยู่แถบชายฝั่งทะเลอะเดรติก (Adriatic) ใกล้เมืองเฟอรารา (Ferrara) ทางตอนเหนือของอิตาลี ในขณะที่อยู่ที่นั่น เขาก็ได้สังเกตเห็นถึงความยากลำบากของนักร้อง ในการที่จะจำเพลงร้องที่ใช้ในพิธีทางศาสนา (Chant) เขาจึงเริ่มคิดค้นวิธีการสอนที่ทำให้นักร้องสามารถจดจำโน้ตได้เร็ว และง่า่ยยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าวิธีที่เขาคิดขึ้นจะได้ผล และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วแถบตอนเหนือของอิตาลี แต่มันก็ทำให้คณะสงค์อื่นๆเกิดความไม่พอใจ เป็นเหตุให้ Guido ต้องรีบย้ายไปยังเมือง Arezzo ที่ซึ่งเขาได้รับเชิญจากพระสังฆาธิการ Tedald ให้ไปควบคุมวงที่ท่านฝึกสอนอยู่ เพราะถึงแม้ว่าเมืองนี้จะไม่มีโบสถ์อยู่เลยแม้แต่แห่งเดียว แต่ก็มีนักร้องประจำโบสถ์กลุ่มใหญ่อยู่ที่นั่น และที่เมือง Arezzo นี้เอง เขาได้พัฒนาวิธีการสอนใหม่ๆ เช่น Solfeggio ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของบันไดเสียง โดเรมี แต่ละคำนำมาจากพยางค์แรกของวลีเพลงทั้ง 6 ในบทกวี Hymn, Ut Queant Laxis ซึ่งอาจมีรากฐานมาจากงานในสมัยแรกๆของเขา ตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่ Pomposa
Guido ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตดนตรีแบบสัญลักษณ์บรรทัด 5 เส้นสมัยใหม่ (Staff notation) ซึ่งใช้แทนระบบการบันทึกโน้ตโดยตัวอักษรกรีกแต่เดิม (Neumatic notation) งานเขียนของเขาที่ชื่อ Micrologus มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาการประสานเสียงหลายเสียง (Polyphony) จังหวะที่เป็นอิสระที่ประสานเข้ากับท่วงทำนองที่เป็นอิสระ (Rhythmic and Melodic independence) และผนวกเสียงร้องหลายแนวตั้งแต่ 2 แนวขึ้นไป ใส่ไว้ในเพลงเดิมๆที่เรียบง่าย นับเป็นทฤษฎีทางดนตรีชิ้นที่สองต่อจากงานเขียนของ Boethius (ค.ศ.480-524/525) นักปรัชญาชาวโรม ในศตวรรษที่ 6 ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดในยุคกลางเลยทีเดียว นอกจากนี้ Guido ยังได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า เป็นผู้คิดค้นระบบบันทึกโน้ตแบบ Guidonian Hand ซึ่งเป็นเทคนิคช่วยจำโน้ตโดยการตั้งชื่อโน้ตให้สอดคล้อง สัมพันธ์กับส่วนต่างๆบนมือของมนุษย์ เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในยุคนั้น
งานเขียน Micrologus ของเขาได้อุทิศให้กับพระสังฆาธิการ Tedald และต่อมาไม่นาน งานเขียนของเขาได้รับความสนใจจากพระสันตะปาปายอห์นที่ 19 ซึ่งได้เชิญเขาไปที่โรมในช่วงราวๆปี ค.ศ.1028 แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็กลับมาที่เมือง Arezzo อีกครั้งเพราะปัญหาด้านสุขภาพ และเรื่องราวของเขาก็หายเงียบไป แต่มาพบในตอนหลังว่างานเขียน Antiphoner ของเขา (การเปลี่ยนระดับเสียงร้องในเพลงสวด) ทีู่สูญหายไปในตอนแรก ได้ถูกเขียนต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1030
ในปัจจุบันชื่อของ Guido of Arezzo ได้ถูกนำไปตั้งชื่อเป็นโปรแกรม GUIDO Music Notation ซึ่งเป็นระบบที่นำเสนอการเขียนโน้ตเพลงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย
ฝนพา สาทิสสะรัต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)