ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) เป็นรูปแบบดนตรีที่ถือกำเนิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 17 และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ลักษณะเฉพาะของดนตรีรูปแบบนี้มักจะใช้เสียงต่ำ และบ่อยครั้งจะอิงกับ bass-ostinato และเขียนในรูป triple metre
ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) เป็นคำที่มาจากภาษาสเปน (pasar เดิน / calle ถนน) และใช้เสมือนมโหระทึกในการสลับฉากระหว่างการแสดงระบำประกอบดนตรีหรือการร้องเพลง ถึงแม้ว่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาสเปน แต่การค้นพบเอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นในปี 1606 กลับเป็นในอิตาลี เอกสารเหล่านี้เป็นการลำดับคอร์ดสั้นๆ และเน้น cadential formula เป็นหลัก
ในปลายทศวรรษที่ 1620 จีโรลาโม เฟรสโกบัลดี (Girolamo Frescobaldi) นักแต่งเพลงชาวอิตาเลี่ยนได้เปลี่ยนรูปแบบดนตรีให้เป็นชุดตัวโน๊ตที่มีความหลากหลายขึ้นโดยใช้เสียงเบสเป็นพื้น ซึ่งอาจมีความหลากหลายได้เช่นกัน นักแต่งเพลงรุ่นต่อมาได้นำวิธีการนี้ไปใช้ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 ความหมายของ ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) ได้เปลี่ยนไปเป็นชุดตัวโน๊ตที่มีความหลากหลายโดยใช้ ostinato เป็นพื้นสำคัญ ตัวอย่างรูปแบบดนตรีดังกล่าวในเพลงคลาสสิกตะวันตกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่ Passacaglia and Fugue in C minor, BWV 582 สำหรับออร์แกน ของ โจฮัน เซบาสเตียง บ๊าค (Johann Sebastian Bach)
รูปแบบดนตรีที่มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างสูงกับ ปัส-ซา-กา-เกลีย (Passacaglia) คือ ชา-ก็อน (chaconne) แต่เนื่องจากนักแต่งเพลงแต่ละคนมักจะขาดความรอบคอบในการพิจารณาในรายละเอียด จึงมีความพยายามที่จะจำแนกความแตกต่างระหว่างรูปแบบดนตรี 2 รูปแบบนี้ เพียงแต่ว่า ผลสรุปมักจะตรงกันข้ามเสมอ เช่น เปอร์ซี เกิร์ตชีอุส (Percy Goetschius) สรุปว่า chaconne มักจะอิงความผสานของดนตรีที่มีเสียง โซปราโน แทรก ในขณะที่ passacaglia จะใช้เสียงเบสเป็นพื้น แต่ คลาเร็นส์ ลูกัส (Clarence Lucas) กลับมีผลสรุปที่สลับกันโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ได้มีการเน้นความต่างโดยนักแต่งเพลงบางคนในศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะ เฟรสโกบัลดี (Frescobaldi) และ ฟรังซัว กูเปอแร็ง (François Couperin) ซึ่งนำรูปแบบดนตรีทั้ง 2 ชนิดเข้ามาเรียบเรียงไว้ในบทเพลงเดียวกัน
ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Passacaglia
ฝนพา สาทิสสะรัต 5204564
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น